ส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ ซึ่งจะทำให้เราสร้างสรรค์ผลงานทุกรูปแบบได้น่าสนใจ มีความสวยงาม
จุด ( Point, Dot)คือ ส่วนประกอบที่เล็กที่สุด เป็นส่วนเริ่มต้นไปสู่ส่วนอื่นๆ เช่น การนำจุดมาเรียงต่อกันตามตำแหน่งที่เหมาะสม และซ้ำๆ กัน จะทำให้เรามองเห็นเป็น เส้น รูปร่าง รูปทรง ลักษณะผิว และการออกแบบที่น่าตื่นเต้นได้ จากจุดหนึ่ง ถึงจุดหนึ่งมีเส้นที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่เห็นได้ด้วยจินตนาการ เราเรียกว่า เส้นโครงสร้าง
นอกจากจุดที่เรานำมาจัดวางเพื่อการออกแบบ แล้ว เราสามารถพบเห็นลักษณะการจัดวางจุดจากสิ่งเป็นธรรมชาติ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ได้ เช่น ข้าวโพด รวงข้าว เมล็ดถั่ว ก้อนหิน เปลือกหอย ใบไม้ ลายของสัตว์นานาชนิด ได้แก่ เสือ ไก่ นก สุนัข งู และแมว เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ธรรมชาติได้ออกแบบไว้อย่างสวยงาม มีระเบียบ มีการซ้ำกันอย่าง มี จังหวะ และมีอิทธิพลต่อความคิดของมนุษย์เราเป็นอย่างมาก เช่น การออกแบบลูกคิด ลูกบิดประตู การร้อยลูกปัด สร้อยคอ และเครื่องประดับต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เกิดมาจากจุดทั้งสิ้น
เส้น ( Line) เกิดจากจุดที่เรียงต่อกันในทางยาว หรือเกิดจากการลากเส้นไปยังทิศทางต่างๆ มีหลายลักษณะ เช่น ตั้ง นอน เฉียง โค้ง ฯลฯ เส้น คือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น เส้นมีมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแกนหรือ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรง
เส้น เป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดงความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น เส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง (Straight Line) และ เส้นโค้ง (Curve Line) เส้นทั้งสองชนิดนี้เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึก ที่แตกต่างกันอีกด้วย
ลักษณะของเส้น
1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่นเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง
2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็นจังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง
5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพอ่อนโยน นุ่มนวล
6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่ หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด
7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทางที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง
8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาด หาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด
ยินดีต้อนรับ
วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ทฤษฎีสี
สี(COLOUR)
ทฤษฎีสี หมายถึง ลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสีมีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสงที่อารมณ์และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตาสายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น ร้อน ตื่นเต้น เศร้า สีมีความหมายอย่างมากเพราะศิลปินต้องการใช้สีเป็นสื่อสร้างความประทับใจ
สี(COLOUR)
ทฤษฎีสี หมายถึง ลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสีมีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสงที่อารมณ์และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตาสายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น ร้อน ตื่นเต้น เศร้า สีมีความหมายอย่างมากเพราะศิลปินต้องการใช้สีเป็นสื่อสร้างความประทับใจ
คำจำกัดความของสี
1. แสงที่มีความถี่ของคลื่นในขนาดที่ตามนุษย์สามารถรับสัมผัสได้
2. แม่สีที่เป็นวัตถุ (PIGMENTARY PRIMARY) ประกอบด้วย แดง เหลือง น้ำเงิน
3. สีที่เกิดจากการผสมของแม่สี
คุณลักษณะของสี
สีแท้ (HUE) คือ สีที่ยังไม่ถูกสีอื่นเข้าผสม เป็นลักษณะของสีแท้ที่มีความสะอาดสดใส เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน
สีอ่อนหรือสีจาง (TINT) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีขาว เช่น สีเทา, สีชมพู
สีแก่ (SHADE) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีดำ เช่น สีน้ำตาล
1. แสงที่มีความถี่ของคลื่นในขนาดที่ตามนุษย์สามารถรับสัมผัสได้
2. แม่สีที่เป็นวัตถุ (PIGMENTARY PRIMARY) ประกอบด้วย แดง เหลือง น้ำเงิน
3. สีที่เกิดจากการผสมของแม่สี
คุณลักษณะของสี
สีแท้ (HUE) คือ สีที่ยังไม่ถูกสีอื่นเข้าผสม เป็นลักษณะของสีแท้ที่มีความสะอาดสดใส เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน
สีอ่อนหรือสีจาง (TINT) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีขาว เช่น สีเทา, สีชมพู
สีแก่ (SHADE) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีดำ เช่น สีน้ำตาล
สีแบ่งออกเป็น 2 โทนคือ
1. โทนร้อน
2. โทนเย็น
ชุดของโทนสีมีด้วยกัน 6 ชุดสี
สีโทนเย็น มีด้วยกัน 3 ชุดสี คือ
ชุดที่ 1 ดำ น้ำเงิน เขียวแก่
ชุดที่ 2 น้ำเงิน เขียวแก่ เขียวอ่อน
ชุดที่ 3 เขียวแก่ เขียวอ่อน เหลือง
1. โทนร้อน
2. โทนเย็น
ชุดของโทนสีมีด้วยกัน 6 ชุดสี
สีโทนเย็น มีด้วยกัน 3 ชุดสี คือ
ชุดที่ 1 ดำ น้ำเงิน เขียวแก่
ชุดที่ 2 น้ำเงิน เขียวแก่ เขียวอ่อน
ชุดที่ 3 เขียวแก่ เขียวอ่อน เหลือง
สีโทนร้อนมีด้วยกัน 3 ชุดสีคือ
ชุดที่ 4 เหลือง ส้ม แดง
ชุดที่ 5 ส้ม แดง น้ำตาล
ชุดที่ 6 แดง น้ำตาล ดำ
สีชุดพิเศษ
คือ ฟ้า ชมพู ม่วง
สี Tint = Hue + White คือ สีแท้ + ขาว
สีฟ้า = สีน้ำเงิน + ขาว
สีชมพู = สีแดง + ขาว
สี Shape = Hue + black คือ สีแท้ + ดำ
สีม่วง = สีแดง + ดำ
วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554
รายวิชา นวัตกรรมและเทคดนโลยีการศึกษา
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์สุจิตตรา จันทร์ลอย
ปีการศึกษา 2/2553
ประวัติส่วนตัว
นางสาวพัชรี แลปู่น้า ป.บัณฑิตวิชาชีพครู หมู่ 2 รุ่นที่ 13
ชื่อจริง พัชรี แลปู่น้า
ชื่อเล่น พัช
วัน เดือน ปีเกิด 22 ก.ค. 2528
ภูมิลำเนา 222 หมู่ 3 ต.สามสวน อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ 36190
เบอร์โทรศัพท์ 089-509-8493
E-mail patchreenaruk@gmail.com
การศึกษา ปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ปัจจุบัน เป็นครูฝึกสอนที่โรงเรียนวัดใหม่นครบาล
สถานภาพ : โสด
คติประจำใจ : ทำวันนี้ให้ดีกว่า วันที่ผ่านมา
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์สุจิตตรา จันทร์ลอย
ปีการศึกษา 2/2553
ประวัติส่วนตัว
นางสาวพัชรี แลปู่น้า ป.บัณฑิตวิชาชีพครู หมู่ 2 รุ่นที่ 13
ชื่อจริง พัชรี แลปู่น้า
ชื่อเล่น พัช
วัน เดือน ปีเกิด 22 ก.ค. 2528
ภูมิลำเนา 222 หมู่ 3 ต.สามสวน อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ 36190
เบอร์โทรศัพท์ 089-509-8493
E-mail patchreenaruk@gmail.com
การศึกษา ปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ปัจจุบัน เป็นครูฝึกสอนที่โรงเรียนวัดใหม่นครบาล
สถานภาพ : โสด
คติประจำใจ : ทำวันนี้ให้ดีกว่า วันที่ผ่านมา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
สื่อการสอนประเภทกิจกรรม
สื่อการสอนประเภทกิจกรรม
View more presentations from kookkikkkkk.
รักคือ
เส้น
โลโก้
แผนภาพสรุปวงจรสี
แผนภาพสรุปวงจรสี
การผสมกันของแม่สีช่างเขียนได้สีอยู่ 3 ขั้น ดังนี้
สีขั้นที่ 1 (Primary Color) ได้แก่
สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน
สีขั้นที่ 2 (Secondary Hues) เป็นการนำเอาแม่สีมาผสมกันในปริมาณเท่า ๆ กัน จะได้สีใหม่อีก 3 สี ดังนี้
สีแดง ผสมกับ สีเหลือง เป็น สีส้ม
สีแดง ผสมกับ สีน้ำเงิน เป็น สีม่วง
สีเหลืองผสมกับ สีน้ำเงิน เป็น สีเขียว
สีขั้นที่ 3 (Tertiary Hues) เกิดจากนำเอาแม่สีมาผสมกับสีขั้นที่ 2 โดยจะได้สีใหม่เพิ่มอีก 6 สี ดังนี้
สีแดง ผสม สีม่วง เป็น สีม่วงแดง
สีแดง ผสม สีส้ม เป็น สีส้มแดง
สีเหลือง ผสม สีส้ม เป็น สีส้มเหลือง
สีเหลือง ผสม สีเขียว เป็น สีเขียวเหลือง
สีน้ำเงิน ผสม สีม่วง เป็น สีม่วงน้ำเงิน
สีน้ำเงิน ผสม สีเขียว เป็น สีเขียวน้ำเงิน
ที่มา http://www.tmr.ac.th/4-6/6-004/title%20%206.htm